รูปแบบของธุรกิจ

รูปแบบองค์กรธุรกิจ

การประกอบธุรกิจการค้าอาจดำเนินการได้หลายรูปแบบ ทั้งโดยบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการโดยลำพัง หรืออาจดำเนินการโดยร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นเป็นกลุ่มคณะก็ได้ การที่จะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจการค้าในรูปแบบใดนั้น ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการด้วยกัน เช่น ลักษณะของกิจการค้า เงินทุน ความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจเป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้การประกอบธุรกิจนั้นประสบผลสำเร็จนำมาซึ่งผล ประโยชน์และกำไรสูงสุด

11

ธุรกิจเจ้าของคนเดียว

ลักษณะของกิจการประเภทนี้คือ การตัดสินใจต่าง ๆ เป็นสิทธิของผู้เป็นเจ้าของเพียงคนเดียว การตัดสินใจต่าง ๆ อยู่ในลักษณะ คิดคนเดียว ทำคนเดียว  ซึ่งผลดีคือตัดสินใจง่ายและรวดเร็ว   แต่ผลจากการคิดคนเดียว ไม่ว่าจะเป็นผลดี…ได้กำไร หรือเป็นผลเสีย….ขาดทุน ก็รับผลคนเดียวเต็ม ๆ   ซึ่งลักษณะธุรกิจประเภทนี้จะดีมากถ้าเจ้าของไม่มีปัญหาเรื่องเงินทุนหมุนเวียน เพราะธุรกิจประเภทนี้ไม่สามารถระดมทุนจากใครได้

ลักษณะการเสียภาษี เป็นไปตาม  “อัตราก้าวหน้า”    ซึ่งหมายถึง   ถ้ารายได้มาก

ก็จะเสียภาษีมาก  โดยอัตราภาษี สูงสุด ถึง  37%   ของกำไรหลังหักค่าใช้จ่าย นั่นคือ ค่าใช้จ่ายจะถูกกำหนดไว้ เป็น 2 ลักษณะ  คือ อัตราเหมา ( กำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ตายตัวตามประเภทของธุรกิจ)    และค่าใช้จ่ายตามจริง   (ต้องอ้างอิงเอกสารค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่สรรพากรยอมรับได้   หลังจากนั้นจึงนำมาหักค่าลดหย่อนส่วนตัว จึงจะเป็นฐานภาษีสำหรับคำนวณภาษีที่ต้องชำระ

ประเภทของห้างหุ้นส่วน

ประเภทของห้างหุ้นส่วน ตามประมวลกฎหมายเพ่งและพาณิชย์  ได้จำแนกห้างหุ้นส่วนเป็น  2 ประเภท คือ

  1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
  2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ห้างหุ้นส่วนสามัญ

  • ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกเดียว  โดยผู้ถือหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวน
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญ จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้  ดังนั้นจึงแยกได้เป็น 2  ประเภทคือ
  1. ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียน ซึ่งไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
  2. ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน  ซึ่งมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย  และมีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า “ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล”

ห้างหุ้นส่วนจำกัด

  • ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน  2  จำพวก  คือ
  1. หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด  ได้แก่  ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียหรือหลายคน  ซึ่งรับผิดจำกัดเพียงจำนวนเนที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น
  2. หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด  ได้แก่ หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลานคนซึ่งรับผิดในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน

บริษัทจำกัด

ตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น  แต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่าๆกัน  โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังไม่ใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ  ซึ่งลักษณะของบริษัทจำกัด  สรุปได้ดังนี้

  1. แบ่งหุ้นออกเป็นหุ้นละเท่าๆกัน
  2. ผู้ถือหุ้นรับผิดจำกัดเพียงเงินค่าหุ้นที่ยังส่งไม่ครบ
  3. มูลค่าของหุ้นๆหนึ่งนั้น ต้องไม่ต่ำกว่า  5 บาท
  4. หุ้นหนึ่งนั้นแบ่งแยกไม่ได้

บริษัทมหาจำกัด

บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน  โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ  และบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ

ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด  พ.ศ.2535  ได้กำหนดลักษณะโครงสร้างของบริษัทมหาชนจำกัด  ไว้ดังนี้

  1. จำนวนผู้ถือหุ้น  มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่  15 คนขึ้นไป
    1. ทุนจดทะเบียน  ไม่มีการกำหนดจำนวนทุนจดทะเบียนขั้นต่ำไว้
    2. มูลค่าหุ้นและการชำระเงินค่าหุ้น  หุ้นของบริษัทมหาชนจำกัดแต่ละหุ้นจะต้องมีมูลเท่ากัน  และต้องชำระค่าหุ้นครั้งเดียวเต็มมูลค่าหุ้น
    3. จำนวนกรรมการ  ต้องมีจำนวนกรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่า  5 คน และกรรมการไม่น้องกว่ากึ่งหนี่งต้องมีที่อยู่ในประเทศไทย

    โดย วคพ.492

1.นายตุลยพิธ       ส่งศรีเกตุ        เลขที่ 11

2.นายธรรมรักษ์   พานิชย์           เลขที่ 13

3.นายธีรวัฒน์        สุวรรณวัฒน์   เลขที่ 14

ใส่ความเห็น